การเซ็นสัญญาของ “มุ้ย” ธีรศิลป์ แดงดา หัวหอกทีมชาติไทยและสโมสรเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ในการย้ายกลับไปเล่นที่ญี่ปุ่นอีกครั้งกับสโมสรฟุตบอลชิมิสุ เอสพัลส์ ในศึกเจลีก 1 แน่นอนว่าคุณภาพนักเตะไทยกลายเป็นที่ยอมรับในลีกที่สูงกว่าย่อมเป็นผลดีต่อการยกระดับวงการฟุตบอลไทย
เช่นเดียวกันบนเส้นทางฟุตบอลอาชีพนักเตะทุกคนย่อมต้องการโกยเงินโกยทองสร้างความมั่นคงให้อาชีพที่เลือกเดินมาตั้งแต่เด็กสมัยที่ยังไม่รู้ว่าลูกฟุตบอลที่หวดโครมๆท่ามกลางแสงแดดสายลมจมฝุ่นคละคลุ้ง จะคืนอะไรกลับมาสู่ความมั่นคงในอนาคตบ้าง?
หากจะนั่งนับนิ้วขมวดคิ้วพลิ้วจำนวนในมือ “มุ้ย” ธีรศิลป์ แดงดา คือหนึ่งในนักเตะไทยที่จดสถิติการเป็นนักเตะอาชีพต่างแดนมากสุดคนหนึ่งหากไม่นับสัญญาที่ยังไม่สะเด็ดน้ำก่อนหน้านี้อย่าง “เรือใบสีฟ้า” แมนฯ ซิตี้ ดาวเตะจากเมืองไทยรายนี้สะสมไมล์การค้าแข้งแบบไม่น้อยหน้าดาวดังตลอดกาลรายอื่นของเมืองไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยปี 2007 ธีรศิลป์ ได้ร่วมฝึกซ้อมกับทีมสำรองของสโมสรก่อนจะถูกโยกไปเล่นให้กลาสฮอปเปอร์ ซูริค ในสวิสเซอร์แลนด์ ทำได้ดีสุดเพียงโอกาสการเล่นให้กับทีมสำรอง
ประสบการณ์ก่อนหน้านั้นอาจจะไม่น่าจดจำ แต่กลายเป็นความรู้ด้านฟุตบอลอาชีพที่ขยายองค์ความฝันให้เดินต่อ ธีรศิลป์ มีโอกาสอีกครั้งกับการไปลุยลีกสเปนวาระตอนนั้นคือไปทดสอบฝีเท้าฝึกซ้อมที่แอตเลติโก มาดริด 22 วันที่ต่อสู้ทุกอย่างไม่ประสบความสำเร็จแต่บทเรียนกลายเป็นเกลียวรอบลูกหนังอาชีพทำให้ได้สัญญาอาชีพต่างแดนจริงจังครั้งแรกอย่างเป็นทางการในปี 2557 กับสโมสรอัลเมเรีย ในประเทศสเปน
แม้ว่าจะเป็นเพียงสัญญายืมตัวแต่การไปครั้งนั้นกลับสร้างโอกาสบนวิถีอาชีพให้เด็กหนุ่มจากไทยอย่างจริงจัง จนนำพาสู่การได้สัญญาอาชีพกับทีมจากเจลีก อีก 2 ครั้ง ทั้ง ซานเฟรซ ฮิโรชิม่าและ ชิมิสุ เอสพัลส์ เบ็ดเสร็จแล้ว 5 สัญญาสโมสร 3 สัญญาอาชีพที่จริงจัง
เป้าหมายของนักฟุตบอลอาชีพทุกคนถูกวางไว้เป็นสเต็ปหากเริ่มจากชีวิตเยาวชนตั้งแต่การคาดหวังเข้าไปเป็นผู้เล่นของสโมสรใหญ่ๆ มีชื่อติดทีมชาติ ค้าแข้งต่างแดน ที่สำคัญการยึดพื้นที่ตัวจริงในสนามแข่งขัน
สำหรับเด็กไทยคงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะคว้าโอกาสไปเล่นลีกต่างแดนได้บ่อยๆ แม้ว่าลีกที่จะไปเล่นจะเป็นลีกเล็กหรือใหญ่ ทุกอย่างนอกจากฝีเท้าแล้ว ต้องเกิดจากความพอใจของสโมสรนั้นๆ เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วเล็งพวกแข้งนอกยุโรปละตินอเมริกา อีกทั้งยังประเด็นเรื่องของการใช้ชีวิตต่างแดน เพราะวิถีเหล่านี้แตกต่างจากไทยโดยสิ้นเชิง
จากอดีตถึงปัจจุบันมีนักเตะไทยไปค้าแข้งต่างแดนมากมายแต่จะมีสักกี่คนที่ได้สัญญาอาชีพต่างแดนมากกว่า 3 สโมสรและบริหารการค้าแข้งได้มากกว่าหนึ่งประเทศ
5 นักเตะไทยค้าแข้งต่างแดนมากกว่า 3 สโมสร
เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง – 5 สโมสร
– 1998 สโมสรปะลิศ ประเทศมาเลเซีย
– 1999 สโมสรฮัดเดอร์ฟิลด์ ประเทศอังกฤษ
– 1999 สโมสรแม็คเคิลฟิลด์ ประเทศอังกฤษ
– 2001 สโมสรสิงคโปร์ อาร์มฟอร์ซ ประเทศสิงคโปร์
– 2003 สโมสรฮองห์ อัน ยาลาย ประเทศเวียดนาม
วิทยา เลาหกุล 4 สโมสร
– 1976 สโมสรยันมาร์ ดีเซล (เซเรโซ่ โอซาก้า ปัจจุบัน) ประเทศญี่ปุ่น
– 1979 สโมสรแฮร์ธ่า เบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน
– 1982 สโมสรซาบรุ๊คเค่น ประเทศเยอรมัน
– 1986 สโมสรมัตซึชิตะ (กัมบะ โอซาก้า ปัจจุบัน) ประเทศญี่ปุ่น
สุธี สุขสมกิจ 4 สโมสร
– 2001 สโมสรตันจง ปาการ์ ประเทศสิงคโปร์
– 2003 สโมสรโฮม ยูไนเต็ด ประเทศสิงคโปร์
– 2007 สโมสรแทมปิเนส โรเวอร์ ประเทศสิงคโปร์
– 2009 สโมสรเมลเบิร์นวิคตอรี ประเทศออสเตรเลีย
โชคทวี พรหมรัตน์ 4 สโมสร
– 2002 สโมสรตันจง ปาการ์ ประเทศสิงคโปร์
– 2004 สโมสรแทมปิเนส ประเทศสิงคโปร์
– 2005 สโมสรฮองห์ อัน ยาลาย ประเทศเวียดนาม
– 2007 สโมสรยะโฮร์ฯ ประเทศมาเลเซีย
พิพัฒน์ ต้นกันยา 4 สโมสร
– 2002 สโมสรบินห์ดิน ประเทศเวียดนาม
– 2005 สโมสรด่องทับ ประเทศเวียดนาม
– 2009 สโมสรปุตรา ซามารินด้า (บาหลี ยูไนเต็ด ปัจจุบัน) ประเทศอินโดนีเซีย
– 2010 สโมสรเปอร์ซิยา ประเทศอินโดนีเซีย
ติดตามข่าวสารฟุตบอลได้ที่ BUAK 20.com
สนับสนุนโดยเว็บไซค์ ฟุตบอลอันดับ1 ufa88s.com